top of page
Search
Writer's picturePongrapee Kamolroongwarakul

What is “Hybrid Prosthesis?”

Updated: Apr 6, 2022


Hybrid prosthesis หรือ เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า Metal-acrylic prosthesis


คือ ฟันเทียมทั้งปากชนิดติดแน่นที่มีซี่ฟันเทียม acrylic teeth เรียงไปบน โครงเป็น titanium framework และเชื่อมติดกันด้วยการ pack pink acrylic นั่นเอง ซึ่ง hybrid prosthesis เป็น 1 ใน วัสดุที่ใช้ทำ final restoration ของการทำ “ISFCD” หรือ implant-supported fixed complete denture นั่นเอง






การทำ ISFCD นั้น การ restore ส่วนใหญ่จะนิยมทำบน abutment ที่เรียกว่า “transmucosal abutment” ข้อดีของtransmucosal abutment คือการเปลี่ยนองศาของความเอียงของรากเทียมที่ปักในกระดูกนั้นให้กลับมาขนานกันรวมถึง การ restore บน abutment level จะทำให้คนไข้เจ็บเหงือกขณะไข prosthesis น้อยกว่าการ restore บน implant level



ในอดีตโครงโลหะจะขึ้นรูปด้วยการ “casting” พวก metal alloy เช่น gold alloy ไปเป็น framework แต่เนื่องจากการ casting มีปัญหาเรื่อง human error รวมถึงต้นทุนของโลหะค่อนข้างสูง ปัจจุบันจึงเปลี่ยนการขึ้นรูปมาเป็นการ“milling” ด้วยวิธีการ CAD/CAM จาก titanium blank ให้เป็น titanium framework แทน

ตามแผนภาพจะเห็นได้ว่า Titanium framework ยึดกับ transmucosal abutment ได้ด้วยการไข prosthetic screw ที่มีขนาดเล็กมากๆ ที่บางทีกระพริบตาทีเดียวก็หายไป

ข้อดีของ Hybrid prosthesis

  1. ราคาถูกที่สุดเมื่อเทียบกับ ISFCD แบบอื่นๆ

  2. สามารถซ่อมแซมได้ง่ายด้วย self-cure acrylic ทำได้ทั้งแบบ chairside หรือ laboratory side ได้ โดยไม่ต้องทำโครงโลหะใหม่ และสามารถ reline ด้านใต้ฟันเทียมได้หากสันเหงือกมีการละลาย

  3. ค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมน้อยที่สุด ส่วนใหญ่จะเป็นการเปลี่ยนซี่ฟันเทียมที่สึก

  4. ไม่ทำอันตรายต่อฟันคู่สบ เช่น ฟันธรรมชาติ หรือ ครอบฟัน

ข้อเสียของ Hybrid prosthesis

  1. สามารถติดสีของอาหารได้เมื่อใช้เป็นเวลานานๆ

  2. ซี่ฟันเทียมสึกได้เร็ว ทำให้ประสิทธิภาพการบดเคี้ยวลดลง หรือ Loss Vertical Dimension of Occlusion (VDO)ได้

  3. ซี่ฟันเทียมสามารถสามารถหลุดออกมาจาก prosthesis ได้หาก restorative space ไม่เพียงพอ



เคสที่ทำนี้เป็น “เคสแรก” ที่ทำ all-on หลังจากกลับมาจากอเมริกา ซึ่งเพิ่งจะ recall 3 ปีไปเมื่อเดือนที่แล้วนี้เอง ทุกอย่างโอเคอยู่

ยังมีวัสดุและการ design อีกหลายๆแบบของ ISFCD ซึ่งจะมาแชร์ให้ฟังในโพสถัดๆไปครับ


163 views0 comments

Recent Posts

See All

Comments


bottom of page